การบริหารโดยการเรียนจากชีวิตสัตว์/Management by Animals (MBA) # 5

 


Beaver (บีเวอร์)

บีเวอร์ใม่ใช่สัตว์เมืองไทย แต่เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะชนิดหนึ่งซึ่งส่วนใหญ่อยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนือ ปัจจุบันมี 2 สปีชีส์ที่เหลือรอดอยู่คือ พันธุ์ยูเรเชีย กับ พันธุ์อเมริกาเหนือ 

บีเวอร์เป็นสัตว์ฟันแทะที่ใหญ่เป็นอันดับสองรองจากแคพิบารา มีศีรษะใหญ่ ร่างกายที่แข็งแรง ฟันหน้าคล้ายสิ่ว ขนสีน้ำตาลหรือเทา เท้าหน้าคล้ายมือ เท้าหลังมีลักษณะแบนและเป็นผังพืด มีหางเป็นเกล็ด สามารถพบได้ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น แม่น้ำ ทะเลสาบ ลำธารและสระน้ำ กินพืช เปลือกไม้ พืชน้ำและกกเป็นอาหาร 

บีเวอร์สร้างเขื่อนและที่อยู่อาศัยโดยใช้กิ่งไม้ หินและโคลน บีเวอร์ตัดต้นไม้เพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง เขื่อนที่กั้นน้ำทำหน้าที่เป็นที่อาศัยและที่หลบซ้อน โครงสร้างพวกนี้ทำให้เกิดเป็นที่ชุ่มน้ำที่เอื้อเฟื้อและส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่นในระบบนิเวศ ตัวผู้และตัวเมียโตเต็มวัยจะอาศัยเป็นคู่เดียวร่วมกับลูกของพวกมัน เมื่อลูกพวกมันโตพอ มันจะช่วยซ่อมเขื่อนและที่อยู่อาศัยรวมทั้งยังช่วยเลี้ยงดูน้อง ๆ ที่พึ่งเกิดด้วย 

บีเวอร์ทำเครื่องหมายอาณาเขตโดยใช้ร่องรอยเนินโคลน เศษซากและสารคาสโตเรียมที่คล้ายปัสสาวะที่ผลิตจากต่อมข้างก้น บีเวอร์สามารถจำแนกญาติโดยสารจากต่อมข้างก้น 

ในอดีตมีการล่าบีเวอร์เพื่อเอาขน เนื้อและคาสโตเรียม คาสโตเรียมใช้ในทางการแพทย์ ทำน้ำหอมและปรุงอาหาร ส่วนหนังและขนของมันมีราคามากในตลาดขนสัตว์ ในช่วงศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 มีการล่าบีเวอร์เป็นจำนวนมาก จึงได้มีออกกฎหมายคุ้มครองทำให้ประชากรพวกมันเพิ่มมากขึ้น จนบัญชีแดงไอยูซีเอ็นระบุให้มีความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ต่ำ ในวัฒนธรรมถือว่าบีเวอร์เป็นตัวแทนของความขยันขันแข็ง อุตสาหะ และถือเป็นสัตว์ประจำชาติของแคนาดา 

นิสัยและความเป็นอยู่ของบีเวอร์ 

บีเวอร์จะชอบอาศัยอยู่บริเวณริมน้ำ โดยสร้างระบบนิเวศชุ่มน้ำขึ้นมาใหม่ได้ การสร้างเขื่อนของมันยังเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และอุณหภูมิหรือสภาพอากาศบริเวณนั้น ทำให้น้ำมีคุณภาพดีได้ รังของบีเวอร์จะสร้างอยู่ในแอ่งน้ำขังจากการสร้างเขื่อนของมัน โดยรังของมันสร้างมาจากไม้และโคลน เมื่อเวลาผ่านไปโคลนจะแข็งจนเหมือนหินทำให้นักล่าไม่สามารถทำลายลงได้ง่าย ๆ รังของพวกมันนั้นจะมีทางเข้าใต้น้ำทำให้นักล่าอย่างหมาป่าไม่สามารถเข้ามาได้ 

เมื่อบีเวอร์ได้ยินเสียงน้ำไหล มันจะแอ็คชั่นทันที โดยตรงไปที่ต้นไม้เพื่อกัดและลากต้นไม้มาขวางลำน้ำทำเป็นเขื่อน มันจะสร้างเขื่อนแบบไม่หยุดจนกว่าเสียงน้ำจะหยุดไหล แต่ถึงอย่างนั้น - งานยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ทันทีที่ได้ยินเสียงน้ำไหลอีกมันก็จะกระโดดเข้าสู่ขุดโคลน ลากไม้และก้อนหินเพื่อหยุดการไหลให้ได้ 

เมื่อบีเวอร์รู้สึกถึงอันตรายและถูกคุกคามจากนักล่า พวกมันจะดำน้ำลงไปและเตือนเพื่อนหรือฝูงด้วยการใช้หางของมันตบน้ำให้มีเสียงและเมื่อฝูงได้ยิน พวกมันก็จะดำน้ำตามลงไป เวลาที่บีเวอร์อยู่บนบกจะเคลื่อนไหวค่อนข้างช้าแต่ถ้าพวกมันว่ายน้ำจะเร็วมากและสามารถดำน้ำได้นานถึง 15 นาที พวกมันยังมีริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมทั้งหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิดซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้ 

บทเรียนที่ได้จากบีเวอร์

 1. การอนุรักษ์ธรรมชาติ แอ่งน้ำของบีเวอร์สามารถกำจัดตะกอนและสารมลพิษทางน้ำและทำให้ของแข็ง สารแขวนลอยตกเป็นตะกอน อีกทั้งยังเพิ่มไนโตรเจน ฟอสเฟต คาร์บอนและซิลิเกตลงในน้ำทำให้คุณภาพน้ำสะอาดและดีกว่าเดิม สมัยก่อนชาวอเมริกันโทษว่าน้ำขังโดยบีเวอร์เป็นแหล่งพยาธิ แต่ต่อมา งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าแหล่งที่มาของการปนเปื้อนนี้คือมนุษย์นั่นเอง แอ่งน้ำบีเวอร์มีส่วนทำให้บริเวณอุดมสมบูรณ์ไปด้วยต้นไม้บนบก พืชน้ำ สรรพสัตว์ เช่น นก กบ เขียด

2. ความขยันขันแข็ง ในช่วงสามทศวรรษที่ผ่านมา บีเวอร์ 2 ครอบครัวได้สร้างเขื่อนบีเวอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ที่อุทยานแห่งชาติ Wood Buffalo ในอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา มีความยาวอย่างน้อย 2790 ฟุต มีต้นไม้หลายพันต้นและเป็นแหล่งชุ่มน้ำที่สำคัญ ดังนั้น เราจึงได้ข้อคิดในเรื่องความอุตสาหะ พยายามและความขยันหมั่นเพียรของบีเวอร์สำหรับปรับใช้ในชีวิต

3. การดูแลครอบครัว บีเวอร์มีครอบครัวที่อบอุ่น พ่อและแม่ต่างอุทิศตนเพื่อครอบครัว สร้างสายใยครอบครัวที่สวยงามและเข้มแข็ง พวกมันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่กี่ชนิดที่มีคู่เดียวและอยู่กันตลอดชีวิต บีเวอร์จะเล่น ทำงาน พักผ่อน กินอาหารและว่ายน้ำร่วมกันเสมอ

Comments

Popular posts from this blog

การบริหารโดยการเรียนจากชีวิตสัตว์/Management by Animals (MBA) # 15

การบริหารโดยการเรียนจากชีวิตสัตว์/Management by Animals (MBA) # 11

การบริหารโดยการเรียนจากชีวิตสัตว์/Management by Animals (MBA) # 13